แนวทางการเขียนโครงงาน บทที่1-5

บทที่ 1 บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา
(สภาพปัจจุบัน เป็นการบรรยายสภาพทั่วไปของสิ่งที่สนใจจะศึกษา)
(ปัญหา เป็นการบรรยายปัญหาของของสิ่งที่สนใจจะศึกษา)
(สาเหตุของปัญหา เป็นการบรรยายถึงสาเหตุที่นำมาซึ่งปัญหาของของสิ่งที่สนใจจะศึกษา )
(แนวทางแก้ไขปัญหา เป็นการบรรยายถึงแนวทางแก้ไขปัญหาของของสิ่งที่สนใจจะศึกษา)
(การสรุปที่มาและความสำคัญของปัญหา โดยอาจสรุปได้ว่า”คณะผู้จัดทำจึงมีความประสงค์ที่จะจัดสร้างโครงงาน )

1.2 วัตถุประสงค์ของการจัดสร้างโครงงาน
1 เพื่อศึกษาและดำเนินการสร้าง ….(ชื่อโครงงาน)…..
2 เพื่อ………………………………………………………………
3 เพื่อ………………………………………………………………

1.3 ขอบเขตของการจัดสร้างโครงงาน
(คือ Spec ของโครงงาน โดยมากมักเขียนเป็นข้อๆ บอกลักษณะที่ชัดเจนของตัวโครงงานเช่น ขนาด น้ำหนัก ความสามารถที่ทำได้ สิ่งที่ทำไม่ได้)

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(เขียนจากวัตถุประสงค์ของการจัดสร้างโครงงาน หรือขอบเขตของการจัดสร้างโครงงาน)
1 ได้ศึกษาและสามารถดำเนินการสร้าง ….(ชื่อโครงงาน)…..
2 สามารถ………………………………………………………………
3 สามารถ………………………………………………………………

อ่านต่อ…

แนวทางการเขียนโครงงาน

แนวทางการเขียนส่วนหน้า
  • ปก ประกอบด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย และข้อความอื่นๆเช่น หน่วยงานของผู้วิจัย ปีที่ทำวิจัย
  • บทคัดย่อ เป็นส่วนที่สรุปย่อเรื่องราวทั้งหมดของงานวิจัย สิ่งสำคัญที่ควรนำเสนอได้แก่ วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยและผลการวิจัย
  • กิตติกรรมประกาศ เป็นการประกาศขอบคุณบุคคลและหน่วยงานที่ให้ความอนุเคราะห์และสนับสนุนให้การดำเนินการวิจัยสำเร็จได้ด้วยดี
  • สารบัญ โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ สารบัญเนื้อเรื่อง สารบัญตารางและสารบัญแผนภูมิและภาพประกอบ

* หมายเหตุ การกำหนดเลขหน้าในส่วนหน้านี้นิยมใช้ระบบตัวอักษร คือ ก ข ค

แนวการเขียนส่วนเนื้อหา
ส่วนเนื้อหาประกอบไปด้วย 5 บท คือไม่เกิน 20 หน้า
บทที่ 1 บทนำ 2-3 หน้า
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3-5 หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการ 3-5 หน้า
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 3-5 หน้า
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 3-5 หน้า
รวมแล้วไม่เกิน 20 หน้า

อ่านต่อ…

ส่วนประกอบของโครงงาน

ส่วนประกอบของโครงงาน

  • ส่วนประกอบตอนต้น
  • ส่วนเนื้อหา
  • ส่วนประกอบตอนท้าย

ส่วนประกอบตอนต้น

  • หน้าปก
  • บทคัดย่อ
  • กิตติกรรมประกาศ
  • สารบัญ

อ่านต่อ…

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนจะมีความสำคัญต่อโครงงานนั้น ๆ การแบ่งขั้นตอนของการทำโครงงานอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงานและการวางแผนการทำโครงงานในที่นี้จะบ่งการทำงานออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้
อ่านต่อ…

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรมและลักษณะของประโยชน์หรือผลงาที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ
1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
3. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี (Theory Experiment)
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
อ่านต่อ…

โครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์ เป็นงานวิจัยในระดับนักเรียน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ที่มีอยู่ในการศึกษา ทดลอง แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือใช้เพื่อช่วยสร้างสื่อเพื่อเสริมการเรียนให้ได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โครงงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนการใช้ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนาการสร้างผลงานจริงอีกด้วย
อ่านต่อ…